2554-08-27

บทความระบบสาระสนเทศ

ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

            ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม  ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร  ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input)  การประมวลผล (Processing)  และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output)  ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า  ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001) 
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม
           
            ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล  (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
             ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ  (FAO Corporate Document Repository, 1998)  ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine)  และวิธีการในการเก็บข้อมูล   ประมวลผลข้อมูล  และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)

สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง 

Laudon & Laudon (2001)  ยังอธิบายว่าในมิติทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ช่วยแก้ปัญหาการจัดการขององค์กร ซึ่งถูกท้าทายจากสิ่งแวดล้อม  ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจองค์กร(Organzations)   การจัดการ (management)  และเทคโนโลยี (Technology)

ประเภทของระบบสารสนเทศ

             ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น  และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ  กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน  ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป 
(สุชาดา กีระนันทน์, 2541) 

ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร   จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท  ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001)

1.     ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems)   ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน  รายการขาย  การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น  วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น

2.     ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems)  ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล   วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร

3.      ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems)  เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ   การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร

4.     ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system)   เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว  หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก
                 5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด

บทความสารสนเทศทางธุรกิจ

แบบฝึกหัดบทที่5

แบบฝึกหัดบทที่5

1.จงยกตัวอย่างผู้ใช้สารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์มาสัก 2 ตัวอย่าง
     ตอบ ตัวอย่าง เช่น มนุษย์มีการนำเทคโนโลยีด้านต่างๆ มาช่วยในการจัดหาบุคลากรเข้ามาทำงานภายในองค์การมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการคัด เลือก การจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงาน เป็นต้น
2.จงเปรียบเทียบความแตกต่างของการบริหารงานบุคคลและการบริหารทรัพยากรมนุษย์
     ตอบ  ความคล้ายคลึงกันระหว่าง “การบริหารงานบุคคล” และ “การจัดการทรัพยากรมนุษย์” คือ การดำเนินงานภายในองค์การเกี่ยวกับงานด้านบุคลากร  ตั้งแต่ การรับสมัคร การคัดเลือก การบรรจุเข้าทำงาน การจัดสรรเจ้าหน้าที่ การประเมินผลการทำงาน ทำหน้าที่เป็นผู้คุมกฎ (ตรวจสอบการมา ลา สาย ขาด กิจ ป่วย) การบริหารเงินเดือนค่าตอบแทน ไปจนถึง การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลาออกหรือการเกษียณอายุของพนักงาน  เหล่านี้ถือเป็น งานประจำทางด้านการบุคลากร (Personnel Routine)  ซึ่งมีลักษณะของการปฏิบัติที่เหมือนกันทั้ง “การบริหารงานบุคคล” และ “การจัดการทรัพยากรมนุษย์” 
3.จากหลักการ 4ข้อและภารกิจ4 ประการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ท่านคิดว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่อย่างไร
     ตอบ มี เนื่องจากในการบริหารองค์การให้มีความเจริญเติบโตได้นั้นผู้บริหารหรือ บุคลากรจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  การ ที่จะหาบุคลเข้ามาทำงานให้กับองค์การนั้นจำต้องผ่านกระบวนการต่างๆ คือ การสรรหา คือ การสรรหาผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานให้กับองค์การ การพัฒนาเป็นการฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน้าที่งานในปัจจุบัน การธำรงรักษาเป็นสิ่งที่องค์การควรกระทำให้บุคลากรมีความพึงพอใจในการทำงาน และการใช้ประโยช น์ คือ การใช้บุคลากรให้เหมาะสมกับงาน เป็นต้น
4.หากธุรกิจแห่งหนึ่งมีการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี มีประสิทธิภาพท่านคิดว่าธุรกิจนั้นจะได้รับประโยชน์อย่างไร
      ตอบ        1. ผู้บริหารสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การ
                      3.ผู้บริหารสามารถจัดสรรบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน
                      4.บุคลากรจะได้รับการพัฒนาตนเองทั้งส่วนความรู้และความสามารถ
                      5.บุคลากรทำงานได้เต็มศักยภาพ
                      6.บุคลากรจะได้รับการปรับปรุงคุณภาพชีวิต เป็นต้น
5. จงยกตัวอย่างสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่นำเสนอต่อผู้บริหารระดับกลางในองค์การ
     ตอบ ตัวอย่าง เช่น สารสนเทศด้านการสรรหา คือ การสรรหาบุคลากรที่เข้ามาทำงานให้มีความรู้ความสามารถ มีความเหมาะสมกับตำแหน่งงาน เป็นต้น
6.สารสนเทศด้านการเจรจาต่อรองแรงงานมักมีผลประโยชน์ต่อองค์การแลบุคลากรอย่างไร    
     ตอบ บุคลากร เกิดความมั่นใจทางสายงานต่างๆ เช่น ค่าแรงงาน สวัสดิการต่างๆที่องค์การควรที่จะให้เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับบุคลากร เป็นต้น
7.ท่านคิดว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีใดอย่างแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต เพราะเหตุใด
     ตอบ เทคโนโลยี สารสนเทศ เนื่องจากในการทำงานของมนุษย์ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยทุ่นแรงในการทำงานมากขึ้น เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถลดข้อผิดพลาดได้มากกว่าการใช้แรงงานมนุษย์และ เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
8.จงอธิบายกระบวนการทางธุรกิจของระบบการสรรหาและคัดเลือก
     ตอบ ระบบสรรหา หมายถึง ระบบที่เก็บรวบรวมข้อมูลผู้สมัครงานที่มีคุณสมบัติตรงกับคุณลักษณะเฉพาะของตำแหน่งงานที่ว่าง
                ระบบ คัดเลือก หมายถึง การเลือกผู้สมัครงานที่ได้รับจดหมายเรียกสัมภาษณ์งานเข้ามารับการสอบ สัมภาษณ์กับบริษัทหลังจากนั้นจะทำการประชุมเพื่อสรุปผลการสัมภาษณ์ส่งให้กับ เจ้าหน้าที่ เพื่อโอนย้ายข้อมูลผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกและออกจดหมายแจ้งผลการ สัมภาษณ์ส่งต่อให้ผู้สมัครเพื่อรับทราบผลการดำเนินต่อไป
9.จงยกตัวอย่างการใช้งานอินทราเน็ตในองค์การสำหรับงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
     ตอบ ตัวอย่าง เช่น การสมัครงานของสถานประกอบการต่างๆ สถาบันการศึกษา สำนักจัดหางาน สหภาพแรงงาน เป็นต้น
10.การเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีส่วนช่วยเพิ่มทุนทางปัญญาขององค์การในแง่ใดจงอธิบายv[I,
     ตอบ การ พัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมตามความต้องการขององค์การและบุคลากรในองค์การอีกทั้งการ เรียนอิเล็กทรอนิกส์ยังช่วยอธิบายคำสอนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งเป็นการสอน ที่ง่ายและสะดวกขึ้น การเรียนแบบนี้เป็นการพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มศักยภาพอีกด้วย

สรุปบทที่5

 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
    ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์    หมายถึง  ระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานภายใต้กิจกรรมด้านต่างๆของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
   การบริหารงานบุคคลและการบริหารทรัพยากรมนุษย์  หมายถึง  กระบวนการในการสรรหา  คัดเลือกและบรรจุบุคคลที่เหมาะสมเข้าทำงานในองค์การในจำนวนที่เพียงพอและเหมาะสม รวมทั้งการบำรุงรักษา
องค์ประกอบของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  มี 3 องค์ประกอบคือ
1.             บริหาร คือ ลูกจ้าง ผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดสรรทรัพยากรที่ใช้ภายในองค์การ ทั้งในส่วนของทรัพยากรมนุษย์  เงินและทรัพย์สินต่างๆ โดยแบ่งระดับของผู้บริหารออกเป็น  3 ระดับ คือ ผู้บริหารระดับสูง  ผู้บริหารระดับกลาง  และผู้จัดการระดับล่าง
2.             การบริหาร ซึ่งถือเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ผสมผสานกันระหว่างความรู้และประสบการณ์โดยกำหนดหน้าที่ของการบริหาร 5 ประการ คือ  การวางแผน  การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน  การอำนวยการ และการควบคุม
3.             ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จขององค์การอีกทั้งช่วยสร้างภาพพจน์ในองค์การในฐานะผู้สร้างสรรค์ผลผลิตและการบริการออกสู่ประชาชน
หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์
   ธุรกิจจะยึดถือหลักการของ 2ระบบ คือ ระบบอุปถัมภ์ และระบบคุณธรรม แต่การดำเนินธุรกิจด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบันระบบคุณธรรมเป็นพื้นฐานในทุกขั้นตอนของกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีหลักการ4 ข้อ ดังนี้
1.                หลักความรู้ ทุกคนที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ขององค์การจะต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ
2.                หลักความสามารถ บุคคลทุกคนล้วนมีคุณค่าต่อองค์การเสมอ  แต่หากบุคคลใดที่ความสามารถสร้างผลงานที่มีมูลค่าสูงสุด  บุคคลนั้นจะมีคุณค่าสูงสุดด้วย
3.                หลักความมั่นคง เป็นหน้าที่ขององค์การที่จะต้องทำให้บุคคลเป็นผู้มีความมั่นคงในอาชีพ
4.                หลักความเป็นกลางทางการเมือง ในบางครั้งที่องค์การมีผู้มีอิทธิพลและมีผู้มีตำแหน่งหน้าที่สูงกว่าผู้อื่น หรืออาศัยความเป็นเครือญาติเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
จากหลักการทั้ง 4 ข้อนี้  ส่งผลให้องค์การเกิดภารกิจด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
1.                การสรรหา คือ  การเสาะแสวงหาบุคคลผู้มีความรู้ และความสามารถที่เหมาะสมกับงาน  สามารถปรับตนเองให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์การ
2.                การพัฒนา คือ การดำเนินการใดๆเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถ ทัศนคติ และประสบการณ์เพิ่มขึ้น
3.                การธำรงรักษา  คือ ความพยายามขององค์การที่จะทำให้บุคลากรมีความพึงพอใจในการทำงาน  ตลอดจนมีการสร้างบรรยากาศให้บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
4.                การใช้ประโยชน์  คือ การใช้บุคคลให้เหมาะสมกับงานเพื่อให้องค์กรได้รับผลประโยชน์อย่างสูงสุด
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผลประโยชน์ซึ่งคาดว่าองค์การและบุคคลที่เกี่ยวข้องจะได้รับมีดังนี้
1.                ผู้บริหารสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
2.                ผู้บริหารสามารถจัดสรรบุคคลให้เหมาะสมกับงานตลอดจนการสร้างระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดี แลมีประสิทธิภาพ
3.                บุคลากรจะได้รับการพัฒนาตนเองทั้งในส่วนความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ทำงาน ตลอดจนมีความก้าวหน้าในอาชีพ
4.                บุคลากรทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ และมีความพอใจกับผลงานที่ได้รับ  จึงมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
5.                บุคลากรจะได้รับการปรับปรุงคุณภาพชีวิต  และมีสภาพการทำงานที่ดีขึ้น
6.                องค์กรบรรลุเป้าหมายในการทำงานและดำเนินงานได้อย่างเต็มที่
7.                องค์กรมีโอกาสที่จะพัฒนาความร่วมมือและร่วมใจการทำงาน
8.                สังคมอยู่ได้อย่างสันติสุข  เนื่องจากบุคคลในสังคมมีรายได้จากการทำงาน
9.                ประเทศชาติมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เพราะองค์การเติบโตอย่างมั่นคง
       สารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์   หมายถึง  สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลของสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมักจะเกิดขึ้นซ้ำๆกันเป็นวัฏจักรเริ่มตั้งแต่มีการสรรหาและว่าจ้างบุคลากรเข้าทำงาน จนกระทั่งบุคคลผู้นั้นพ้นสภาพจากการเป็นบุคลากรของบริษัทไป
    การจำแนกประเภทของสารสนเทศ  
สารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สามารถจำแนกได้เป็น  3  ประเภท  ตามระดับของการบริหารงานขององค์การ ดังนี้
1.                สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการปฏิบัติงานด้านต่างๆของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  และมีการนำเสนอต่อผู้บริหารระดับล่าง ดังนี้
1.1       สารสนเทศด้านการคัดเลือก คือ สารสนเทศที่ประกอบด้วย ผลการสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน  รายชื่อผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกและจดหมายแจ้งผลการสัมภาษณ์
1.2       สารสนเทศด้านการบรรจุเข้ารับตำแหน่งงาน  คือ สารสนเทศที่ประกอบด้วย  สถิติการเข้ามอบตัวของผู้ผ่านการคัดเลือก  คำสั่งบรรจุและแต่งตั้งบุคลากรที่อาจจัดเก็บอยู่ในระบบประมวลภาพให้ผู้ใช้สืบค้นได้ตามที่ต้องการ
1.3       สารสนเทศด้านประวัติบุคลากร  คือ สารสนเทศที่ประกอบด้วยประวัติส่วนตัวของบุคลากรและประวัติการทำงาน  ข้อมูลทักษะความชำนาญงานของบุคลากรรายบุคคล  ตลอดจนประวัติการโยกย้ายและการเลื่อนตำแหน่ง
1.4       สารสนเทศด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน  คือ สารสนเทศที่ประกอบด้วยข้อมูลผลงานและผลการปฏิบัติงานของบุคลากรรายบุคคล  ตลอดจนวิธีการใช้ในการวัดและประเมินผลด้วย
1.5       สารสนเทศด้านการจ่ายเงินเดือน  คือ สารสนเทศที่ประกอบด้วยโครงสร้างเงินเดือน  อัตราเงินเดือนของแต่ละบุคคล  อัตราภาษีเงินได้  ข้อมูลค่าลดหย่อนส่วนบุคคล  รวมทั้งราได้หลังหักภาษีของแต่ละบุคคล
2.                สารสนเทศเชิงกลวิธี คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการบริหารในด้านต่างๆของการบริหารทรัพยากรมนุษย์และมีการนำเสนอต่อผู้บริหารระดับกลาง ดังนี้
2.1       สารสนเทศด้านการสรรหา คือ สารสนเทศที่ประกอบด้วยแหล่งจัดหาแรงงาน  ประวัติและคุณสมบัติของผู้สมัครงาน
2.2      สารสนเทศด้านการวิเคราะห์งาน คือ สารสนเทศที่ประกอบด้วยคำพรรณนาแลคุณลักษณะเฉพาะของงาน ที่ใช้อธิบายถึงทักษะ ความรู้ ประสบการณ์
2.3      สารสนเทศด้านการควบคุมตำแหน่ง  คือ  สารสนเทศที่ประกอบด้วยโครงสร้างตำแหน่งงาน
2.4     สารสนเทศด้านการสวัสดิการและผลประโยชน์ คือ สารสนเทศที่ประกอบด้วยรายงานค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าสวัสดิการ  ค่าตอบแทนและเงินชดเชย  รายงานการใช้สิทธิ
2.5       สารสนเทศด้านการพัฒนาและฝึกอบรม  คือ  สารสนเทศที่ประกอบด้วยแผนการฝึกอบรม  รายชื่อหลักสูตร รายชื่อวิทยากร
3.                สารสนเทศเชิงกลยุทธ์  คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการวางแผนงานของผู้บริหารระดับสูงอีกทั้งมีการกำหนดเป้าหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระยะยาว  โดยจำแนกประเภทของสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ได้เป็น  2 ประเภท คือ
3.1       สารสนเทศด้านการวางแผนอัตรากำลัง  ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
3.2       สารสนเทศด้านการเจรจาต่อรอง  ถือเป็นภาระงานหนึ่งของผู้บริหารระดับสูง
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ  จำแนกระบบย่อยได้  8 ระบบ ดังนี้
1.                ระบบวางแผนอัตรากำลังคน  ถูกใช้เป็นเครื่องมือกำหนดความต้องการบุคลากรขององค์การ  ในส่วนอัตรากำลังคน  และคุณสมบัติของบุคลากรที่ตรงกับความต้องการของแต่ละงาน
2.                ระบบวิเคราะห์งาน  จะครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการวิเคราะห์งาน และการควบคุมตำแหน่งงาน  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องมาจากกิจกรรมของการวางแผนอัตรากำลังคนซึ่งจำเป็นต้องใช้สารสนเทศจากภายนอกส่วนหนึ่ง
3.                ระบบการสรรหาและคัดเลือก  จะครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการสรรหาและคัดเลือก ก่อนที่จะบรรจุเข้าทำงาน  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการวิเคราะห์งานและการควบคุมตำแหน่ง
4.                ระบบบุคลากร  จะครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการบรรจุเข้าทำงาน  การลงทะเบียนประวัติบุคลากร  แลการบันทึกเวลาเข้าออก  ซึ่งสารสนเทศที่ได้จากระบบบุคลากร  จำเป็นต้องใช้ตลอดอายุการทำงานของบุคลากรแต่ละคน
5.                ระบบค่าจ้างและเงินเดือน  จะครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการจ่ายค่าจ้างและเงินเดือน รวมทั้งการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  โดยที่ระบบจ่ายค่าจ้างและเงินเดือนของแต่ละองค์การอาจแตกต่างกันไป และเงื่อนไขในการคิดคำนวณรายได้สุทธิเพื่อนำมาคำนวณเงินเดือนจ่ายบุคลากรก็อาจแตกต่างกันไปแล้วแต่นโยบายด้านการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนของแต่ละองค์การ
6.                ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน  จะครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และการรับเงินเดือนในขั้นพื้นฐาน  ตลอดจนนำสารสนเทศที่ได้มาเป็นข้อมูลนำเข้าของการพัฒนาและฝึกอบรม  การเลื่อนชั้นตำแหน่ง  หรือแม้กระทั่งการโยกย้ายงานไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอื่น
7.                การพัฒนาและฝึกอบรม ในส่วนนี้จะครอบคลุมถึงกระบวนการในส่วนการจัดทำแผนการพัฒนาและฝึกอบรมรวมทั้งการดำเนินการฝึกอบรมบุคลากร โดยจะถือเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรให้เป็นผู้มีความรู้และความสามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ
8.                ระบบสวัสดิการและผลประโยชน์  จะครอบคลุมถึงกระบวนการวางแผนด้านผลประโยชน์ของบุคลากร  และการจ่ายค่าสวัสดิการบุคลากร  ตลอดจนผลประโยชน์อื่น ซึ่งนอกเหนือจากค่าจ้างแรงงาน  เพื่อเป็นการธำรงรักษาบุคลากรให้มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
เทคโนโลยีทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์  แบ่งเป็น 3 หัวข้อย่อย คือ
1.                โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์  คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟต์แวร์ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์  โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์มี  3 ประเภท  ดังนี้
1.1      โปรแกรมบันทึกเวลาการทำงาน  จะต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของฮาร์ดแวร์ละซอฟต์แวร์ระบบการบันทึกเวลาการทำงานเพื่อจัดการดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากรตามหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมาย
1.2      โปรแกรมการจ่ายเงินเดือน  มักจะเป็นการรวมสามมอดูลเข้าด้วยกันอันได้แก่  มอดูลบุคลากร  มอดูลการลางานและมอดูลการจ่ายเงินเดือน
1.3      โปรแกรมการบริหารทุนด้านมนุษย์  ขอบกตัวอย่างโปรแกรมพีเพิลซอฟต์ เอ็นเตอร์ไพรส์  ของ บริษัท ออราเคิล จำกัด  ที่พัฒนาโปรแกรมบริหารทุนด้านมนุษย์  โดยนำแบบฉบับของวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
2.                การใช้อินทราเน็ต   อินทราเน็ต  คือ  ระบบเครือข่ายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะภายในองค์การ  การพัฒนาอินทราเน็ตจะตั้งอยู่บนพ้นฐานของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อินเตอร์เน็ต และเวิล์ดไวด์เว็บ  นอกจากนี้อินทราเน็ตยังเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ทรงพลังอำนาจด้านการสื่อสารภายในองค์การ  การใช้อินทราเน็ตสามารถลดปริมาณกระดาษลงอย่างเห็นได้ชัด  เนื่องจากข้อมูลและสารสนเทศต่างๆจะถูกแสดงบนน้าจอคอมพิวเตอร์
3.                การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องสื่อสารกับบุคคลภายนอกด้วย เช่น ผู้สมัครงาน  สถาบันการศึกษา   อินเตอร์เน็ต คือ เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการสื่อสารและการประสานงานระหว่างบุคคลภายในและภายนอกองค์การ โดยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บเพื่อรองรับกระบวนการทำงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะเว็บศูนย์รวมด้านทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้เป็นแหล่งประชาสัมพันธ์การสมัครงาน บริการว่าจ้างงาน

แบบฝึกหัดบทที่4

แบบฝึกหัดบทที่ 4
1. จงอธิบายความสัมพันธ์ของระบบประมวลผลธุรกรรม และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ตอบ  มีความสัมพันธ์กันเนื่องจากระบบประมวลผลธุรกรรมหรือทีพีเอส คือ จุดขององค์ประกอบต่างๆ เช่น บุคลากร กระบวนการเป็นต้นซึ่งระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหรือ เอ็มไอเอส คือระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้จัดการระดับล่า ระดับกลางเพื่อนำเสนอรายงาน เป็นต้น ซึ่งทั้งสองระบบนี้จะทำการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกรวมกัน
2. จงยกตัวอย่าง องค์ประกอบด้านการพัฒนากลยุทธ์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
            ตอบ  นำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดจำเป็นต้องมีการวางแผนหรือการนำกลยุทธ์ต่างๆมาใช้ในการโฆษณาเป็นต้น
3. หากท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านห้องแล็บของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ท่านจะพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีทางการจัดการประเภทใด เพราะเหตุใด
            ตอบ  ระบบผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากเป็นระบบที่มีโครงสร้างทางการจัดการที่ดีเหมาะสำหรับที่จะนำมาใช้ในโรงพยาบาลเพราะถ้าหากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบนี้เกิดตายไประบบก็ยังสามารถใช้ได้ตามปกติ อีกทั้งยังใช้ในด้านการติดตาม งานระบบที่ซับซ้อนได้และสามารถพัฒนาแผนการตลากสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อีกด้วย
4. ระบบสารสนเทศประเภทใดที่จัดเป็นระบบสารสนเทศระดับสูง ซึ่งมีการนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาใช้เพื่อการประมวลผลสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
            ตอบ  ระบบสนับสนุนผู้บริหาร
5. จงจำแนกประเภทของระบบสารสนเทศทางธุรกิจของธุรกิจโทรคมนาคม
            ตอบ
            1. การรับส่งข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีแบบ Packet – switched
            2. บริการโทรสาร
            3. บริการเปลี่ยนรหัสหรือรูปแบบข้อมูลเป็นต้น
6. เพราะเหตุใด ธุรกิจจึงต้องมีการพัฒนาด้านระบบสารสนเทศตามยุคสมัย
            ตอบ  เนื่องจากในปัจจุบันมีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเป็นจำนวนมากมนุษย์ล้วนแล้วแต่หาสิ่งที่นำพาความสะดวดสบายมาใช้ในชีวิตประจำวันเปรียบได้เสมือนกับธุรกิจที่จะต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอเพื่อที่จะได้นำสินค้าหรือบริการออกมาจำหน่ายให้ตรงกับความต้องการของลูกค่อยู่เสมอ
7. การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ มักจะมีความเกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์และการพาณิชย์เคลื่อนที่อย่างไร จงอธิบาย
            ตอบ  มีความเกี่ยวข้องกันคือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ คือ การนะเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารให้มีความถูกต้องแลแม่นยำขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจทางด้านไหนก็ตามซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการพาณิชย์เคลื่อนที่นั่นเอง เนื่องจากทั้งสองอย่างนี้ก็เป็นการทำธุรกรรมด้านต่างๆโดยอาศัยระบบสารสนเทศมาช่วยในการทำธุรกิจเช่นกัน
8. บทบาทของผู้บริหารด้านข้อมูลข่าวสารและด้านการตัดสินใจมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
            ตอบ  มีความสัมพันธ์กันเนื่องจากในกรณีที่ผู้บริหารเกิดความต้องการตัดสินใจเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นจะทำการตัดสินใจเลยไม่ได้จะต้องทำการศึกษาข้อมูลนั้นก่อนที่ทำการตัดสินใจ
9. เทคโนโลยีความจริงเสมือนมักถูกนำมาใช้กับงานด้านใดบ้าง
            ตอบ  มีการฝึกอบรมในหลายสาขา เช่น การทหาร การแพทย์ การศึกษา การประเมิน การออกแบบ การศึกษาด้านเฮอร์โกโมฟิกส์ เป็นต้น
10. เพราะเหตุใดกลุ่มผู้ตัดสินใจของระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มจึงเกิดความเป็นอิสระและกล้าแสดงความคิดเห็นโดยไม่หวั่นเกรงข้อโต้แย้งใดๆ
            ตอบ  เนื่องจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มได้นำโปรแกรม จีดีเอสมาใช้ในการประชุมโดยที่ไม่ต้องระบุชื่อ ดังนั้นโปรแกรมนี้จึงช่วยให้ผู้นำข้อมูลเกิดความเชื่อมั่นในความเหมาะสมของการประเมิน

แหล่งท่องเที่ยวในประเทศสหรัฐอเมริกา

สถานที่ท่องเที่ยวในอเมริกา
 ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามและมีอากาศที่หนาวเย็น จนทำให้บุคคลภายนอกประเทศนิยมไปเที่ยวกัน อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีมากมาย เราก็จะมายกตัวอย่างสถานที่ท่องเที่ยวที่ผู้คนนิยมไปกันเช่น


1. สะพานโกลเดนเกต ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา


     สถานที่ตั้ง เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

2. ตึกเอ็มไพร์สเตต นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา

3. เขื่อนยักษ์ฮูเวอร์ สหรัฐอเมริกา   สถานที่ตั้ง ประเทศสหรัฐอเมริกา


4. อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ สหรัฐอเมริกา
    
สถานที่ตั้ง นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา


5. แกรนด์แคนยอน สหรัฐอเมริกา
      สถานที่ตั้ง มลรัฐอะริโซนา ประเทศ สหรัฐอเมริกา



6. วอลท์ ดิสนีย์ เวิลด์
         สถานที่ตั้ง  ตั้งอยู่ในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา


 

7. น้ำตกไนแองการ่า ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศแคนาดา


    สถานที่ตั้ง บริเวณทะเลสาบทั้ง 5 ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศแคนาดา


2554-08-24

สรุปบทที่4

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ
แนวคิดและองค์ประกอบ
                1. แนวคิด
                ปัจจุบัน องค์การธุรกิจได้นำระบบสารสนเทศมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูงและต้นทุนการใช้งานต่ำ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงก่อให้เกิดระบบสารสนเทศตามหน้าที่งาน ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจ
                อย่างไรก็ตาม องค์การยังตระหนักถึงการนำข้อมูลที่ได้รับจากระบบสารสนเทศมาใช้ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้จัดการและผู้บริหารให้มีความถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ดังนั้น องค์การจึงมีการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ควบคู่ไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการพาณิชย์เคลื่อนที่
                2. องค์ประกอบ
                2.1 ฐานข้อมูล หมายถึง หน่วยเก็บและรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ ซึ่งพร้อมสำหรับการให้บริการเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
                2.2 การสื่อสาร หมายถึง เครื่องมือที่ช่วยด้านการสรรหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และส่งผ่านข้อมูลมาจัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นเป้าหมาย เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์
                2.3 เครือข่ายข้อมูล หมายถึง การเชื่อมโยงข้อมูลภายในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการเชื่อมโยงระบบประยุกต์และฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน
                2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง กระบวนการที่ใช้วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปของสารสนเทศที่นำมาใช้ในการตัดสินใจได้ทันที
                2.5 การพัฒนากลยุทธ์ หมายถึง กระบวนการกำหนดกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ ตลอดจนสภาพแวดล้อมของธุรกิจ
การจัดการ
                1. แนวคิดและความหมาย
                รอบบินส์และคูลเทอร์ (Robbins & Coulter, 2003, p.2) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า การจัดการ คือ กระบวนการประสานงาน เพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้หลักการวัดผล ดังนี้
                ประสิทธิภาพ วัดได้จากทรัพยากรที่ใช้และผลผลิตที่ได้
                ประสิทธิผล วัดได้จากความสามารถในการบรรลุเป้าหมายขององค์การในระยะยาว
                สำหรับฟังก์ชันการจัดการ สามารถจำแนกได้ 5 ประการ ดังนี้
1.             การวางแผน เกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ กรอบแนวคิด กระบวนการ ตลอดจนการประสานงานในกิจกรรมต่าง ๆ
2.             การจัดองค์การ เป็นการกำหนดกิจกรรมที่จะต้องทำ บุคลากรผู้รับผิดชอบ อำนาจหน้าที่ กลุ่มงาน รวมทั้งสายการบังคับบัญชา
3.             การจัดบุคคลเข้าทำงาน เป็นการจัดวางบุคคลให้เหมาะสมกับงานทั้งงานด้านคุณภาพของบุคคลและปริมาณแรงงานที่ต้องการ ตลอดจนการพัฒนาบุคคล
4.             การนำ เป็นการสั่งการหรือจูงใจให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันอย่างเต็มความสามารถ เพื่อบรรลุเป้าหมายและประโยชน์สูงสุดขององค์การ
5.             การควบคุม เป็นการกำหนดเกณฑ์ และมาตรฐานงานเพื่อการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน
                2. ผู้จัดการและผู้บริหาร คือ บุคคลที่ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเป็นผู้ประสานงานในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างแผนกงาน ทีมงาน และบุคคลภายนอกองค์การ
                2.1 ผู้บริหารระดับสูง คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ส่วนบนสุดของโครงสร้าง โดยรับผิดชอบด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ จัดทำแผนระยะยาวที่กำหนดทิศทาง เป้าหมาย กลยุทธ์ทรัพยากรและนโยบายองค์การ
                2.2 ผู้จัดการระดับกลาง คือ ผู้ปฏิบัติงานและรับผิดชอบสำหรับงานด้านการจัดการเชิงกลวิธี จัดทำแผนระยะปานกลางที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และควบคุมการปฏิบัติงาน จัดอยู่ในระดับหน่วยธุรกิจ
                2.3 ผู้จัดการระดับล่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานและรับผิดชอบงานด้านการจัดการเชิงปฏิบัติการ มีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของบุคคลผู้ปฏิบัติงาน จัดทำแผนปฏิบัติงานระยะสั้น เน้นสร้างผลงานที่เป็นรูปธรรม
                บทบาททั่วไปของผู้จัดการและผู้บริหารทั้ง 3 ระดับ ดังนี้
                ระดับที่ 1 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
1.             การเป็นตัวแทนและภาพลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมขององค์การ
2.             การเป็นผู้นำองค์การกระตุ้นพนักงานให้ร่วมแรงร่วมใจกับปฏิบัติหน้าที่
3.             การประสานงานกับบุคคล หรือกลุ่มบุคคล เพื่อสร้างความราบรื่นด้านการดำเนินงาน
                ระดับที่ 2 ด้านข้อมูลข่าวสาร
1.             การเป็นตัวกลางด้นการไหลเวียนข่าวสาร และติดตามตรวจสอบข้อมูล
2.             การเป็นผู้กระจายข่าวสารให้พนักงานรับทราบ
3.             การเป็นโฆษกที่ทำหน้าที่กระจายข่าวสารขององค์การไปสู่ภายนอก
                ระดับที่ 3 ด้านการตัดสินใจ
1.             การเป็นผู้ประกอบการ โดยการคิดค้นและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ
2.             การเป็นนักแก้ปัญหาให้ลุล่วงไป และเป็นคนกลางคอยตัดสินปัญหา
3.             การเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรซึ่งมีปริมาณจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การตัดสินใจ
                1. แนวคิดและความหมาย
                การตัดสินใจ คือ กระบวนการที่ใช้แก้ปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการด้านต่าง ๆ ของธุรกิจ ตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
                                ขั้นตอนที่ 1 ระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
                                ขั้นตอนที่ 2 เลือกวิธีการแก้ปัญหา
                                ขั้นตอนที่ 3 เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างแบบจำลองการตัดสินใจ
                                ขั้นตอนที่ 4 ระบุทางเลือกที่ได้จากแบบจำลองการตัดสินใจ
                                ขั้นตอนที่ 5 ประเมินข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือก
                                ขั้นตอนที่ 6 เลือกและปฏิบัติตามแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
                2. แบบจำลองการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
                Stair and Reynolds (2006, p.455) ได้กล่าวถึง เฮอร์เบิร์ต ไซมอน ว่าเป็นผู้พัฒนาแบบจำลองการตัดสินใจซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป ในเวลาต่อมา จอร์จ ฮูเบอร์ ได้ขยายแบบจำลองการตัดสินใจเป็นแบบจำลองการแก้ปัญหา รวมทั้งสิ้น 5 ขั้นตอน ดังนี้
                ขั้นตอนที่ 1 ขั้นอัจฉริยะ คือ ขั้นของจำแนกและนิยามถึงปัญหาและโอกาสทางธุรกิจไว้อย่างชัดเจน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลที่สัมพันธ์กับสาเหตุและขอบเขตของปัญหา
                ขั้นตอนที่ 2 ขั้นออกแบบ คือ ขั้นของการพัฒนาทางเลือกของการแก้ปัญหาที่หลากหลายด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นขั้นการประดิษฐ์ พัฒนา และวิเคราะห์หาชุดปฏิบัติการ โดยอาจใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเป็นเครื่องมือสร้างชุดปฏิบัติการ
                ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตัวเลือก คือ ใช้เครื่องมือสื่อสาร ช่วยคำนวณค่าใช่จ่ายและติดตามผลของการใช้ชุดปฏิบัติการนั้น และใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก
                ขั้นตอนที่ 4 ขั้นทำให้เกิดผล คือ ขั้นตอนการนำชุดปฏิบัติการที่เลือกไว้ไปใช้ให้เกิดผลลัพธ์
                ขั้นตอนที่ 5 ขั้นกำกับดูแล คือ ขั้นของการประเมินผลชุดปฏิบัติการที่ถูกนำไปใช้โดยผู้ตัดสินใจ และติดตามผลลัพธ์ อีกทั้งยังได้ทราบผลป้อนกลับ
                3. การจำแนกประเภท
                3.1 การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง เป็นการตัดสินใจของปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ กันทุกวัน มีลักษณะเป็นงานประจำ สามารถเข้าใจได้ง่าย มักใช้กับการทำงานของผู้จัดการระดับล่าง
                3.2 การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง เป็นการตัดสินใจซึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่มักใช้กฎเกณฑ์เพียงบางส่วน จึงต้องอาศัยวิจารณญาณเข้าช่วย ร่วมกับการใช้สารสนเทศช่วยตัดสินใจ มักใช้งานกับผู้จัดการระดับกลาง
                3.3 การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง เป็นการตัดสินใจกับเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก ไม่มีกรอบการทำงาน อาจมีการนำเสนอสารสนเทศบางส่วน มักใช้กับผู้บริหารระดับสูงในองค์การ
                4. รูปแบบการตัดสินใจ
                4.1 ระดับบุคคล เป็นระดับการตัดสินใจในส่วนการใช้แบบแผนการรับรู้ อธิบายถึงลักษณะนิสัยส่วนบุคคลในการตอบสนองต่อข่าวสาร
                                รูปแบบที่ 1 การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ คือ การใช้วิธีศึกษาปัญหาอย่างมีระเบียบแบบแผน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูล และประเมินค่าข่าวสาร
                                รูปแบบที่ 2 การตัดสินใจโดยใช้สามัญสำนึก คือ การใช้วิธีการหลาบรูปแบบมาผสมผสานกัน ไม่มีการปะเมินข่าวสารที่รวบรวมได้
                4.2 ระดับองค์การ เป็นระดับการตัดสินใจที่ถูกกระทำโดยกลุ่มบุคคลภายในองค์การ ซึ่งให้ความสำคัญกับโครงสร้างและนโยบายเป็นสำคัญ
                                รูปแบบที่ 1 การตัดสินใจตามรูปแบบราชการ คือ รูปแบบที่ใช้ในองค์การที่ปฏิบัติงานต่อเนื่องมาหลายปีและแบ่งหน่วยงานออกเป็นหลายหน่วยย่อย แต่ละหน่วยจัดการกับปัญหาเฉพาะที่ตนเชี่ยวชาญเท่านั้น
                                รูปแบบที่ 2 การตัดสินใจตามรูปแบบการปกครอง คือ รูปแบบที่ใช้ในองค์การที่มีการยกอำนาจการปกครองอยู่ในมือบุคคลเพียงไม่กี่บุคคล อาจมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันสำหรับการตัดสินใจ
                                รูปแบบที่ 3 การตัดสินใจตามรูปแบบถังขยะ คือ รูปแบบการตัดสินใจที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผล มักเกิดขึ้นจากาความบังเอิญ
สารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ
                ศุภิสราพร สุธาทิพยะรัตน์ (2548, หน้า 25) ได้ให้นิยามไว้ว่า สารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ สารสนเทศที่ได้จากการสรุปข้อมูลจากฐานข้อมูลดำเนินงานขององค์การเพื่อให้เห็นภาพรวมและแนวโน้มทางการเงิน การตลาด และการผลิตของบริษัท ซึ่งมีคุณลักษณะที่ดี 7 ประการ คือ
                1.สารสนเทศที่ช่วยให้ผู้บริหารทราบสถานการณ์ปัจจุบัน หรือระดับผลงานที่ทำได้
                2. สารสนเทศด้านปัญหาจากการดำเนินงานและรายงานด้านโอกาสที่กำลังจะเกิดขึ้น
                3. สารสนเทศด้านการเปลี่ยนแปลงที่มักส่งผลให้การดำเนินงานของธุรกิจหยุดชะงัก
                4. สารสนเทศเกี่ยวกับแผนงานหรือโครงการใหม่ที่กำลังจะเริ่มต้นในอนาคต
                5. สารสนเทศที่แจ้งให้ทราบถึงผลดำเนินงานของธุรกิจ ทั้งในส่วนผลประกอบการ ส่วนแบ่งตลาด และยอดขายในช่วงฤดูกาลต่าง ๆ รวมทั้งผลดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
                6. สารสนเทศภายนอกเกี่ยวกับข้อคิดเห็น คู่แข่ง และการเปลี่ยนแปลงทางการเงิน การตลาด
                7. สารสนเทศที่แจกจ่ายออกสู่ภายนอก เพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นและผู้สื่อข่าวทราบ
                นอกจากนี้ Stair and Reynolds (2006, p.460) ได้จำแนกประเภทของสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
                1. รายงานตามกำหนดการ คือ รายงานที่ผลิตขึ้นตามงวดเวลาหรือตามตารางเวลาที่วางไว้ เช่น การใช้รายงานสรุปรายสัปดาห์ของผู้จัดการผลิต ซึ่งแสดงถึงต้นทุนเงินเดือนทั้งหมด เพื่อผลสำหรับการติดตามและควบคุมต้นทุนค่าแรงและต้นทุนงาน โดยมีการอกกรายงานวันละ 1 ครั้ง
                2. รายงานตัวชี้วัดหลัก คือ รายงานสรุปถึงกิจกรรมวิกฤติของวันก่อนหน้านี้ และใช้เป็นแบบฉบับของการเริ่มต้นกิจกรรมใหม่ ซึ่งจะสรุปถึงระดับสินค้าคงเหลือ กิจกรรมผลิต ปริมาณขาย โดยมักมีการนำเสนอต่อผู้จัดการและผู้บริหาร
                3. รายงานตามคำขอ คือ รายงานที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อนำเสนอสารสนเทศตามที่ผู้ใช้ร้องขอ คือ การผลิตรายงานตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ผู้บริหารต้องการทราบสถานะของผลิตภัณฑ์เฉพาะรายการ
                4. รายงานตามยกเว้น คือ รายงานที่มักมีการผลิตขึ้นอย่างอัตโนมัติ เมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติหรือเกิดความต้องการพิเศษทางการจัดการ
                5. รายงานเจาะลึกในรายละเอียด คือ รายงานที่ช่วยสนับสนุนรายละเอียดที่เพิ่มขึ้นภายใต้สถานการณ์หนึ่ง เช่น มองยอดขายรวมของบริษัท แล้วค่อยมองข้อมูลในส่วนที่เป็นรายละเอียด
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
                1. ระบบประมวลผลธุรกรรม
                Stair and Reynolds (2006, p.25) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า คือ ชุดขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่น บุคลากร กระบวนการ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลและอุปกรณ์ ซึ่งถูกรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบเพื่อนำมาใช้บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ตลอดจนหน้าที่งานทางธุรกิจ
                ระบบพื้นฐานทางธุรกิจ ซึ่งมักถูกพัฒนาเป็นระบบคอมพิวเตอร์ระบบแรก คือ ระบบเงินเดือน สิ่งรับเข้า คือ จำนวนชั่วโมงแรงงานของลูกจ้างในช่วงหนึ่งสัปดาห์ และอัตราการจ้างเงินเดือน สิ่งส่งออก คือ เช็คเงินเดือน ระบบเงินเดือน
                2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
                Laudon and Laudon (2005, p.46) ได้ให้นิยามไว้ว่า เป็นระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้จัดการระดับล่าง และระดับกลางเพื่อการนำเสนอรายงาน ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเฉพาะด้านและข้อมูลในอดีต มุ่งตอบสนองความต้องการของบุคลากรภายในองค์การมากกว่าความต้องการของหน่วยงานภายนอกองค์การ
                Stair and Reynolds (2006, p.27) ได้ให้นิยามไว้ว่า เป็นระบบที่พัฒนาขึ้น เพื่อการนำเสนอสารสนเทศประจำวันต่อผู้จัดการและผู้ตัดสินใจในหน้าที่งานต่าง ๆ จุดมุ่งหมาย คือ ประสิทธิภาพเบื้องต้นของการดำเนินงานด้านการตลาด การผลิต การเงินที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลในฐานข้อมูลรวมขององค์การ
                เอ็มไอเอส เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันแกองค์กรธุรกิจ โดยการสนับสนุนด้านสารสนเทศที่ถูกต้อง จุดมุ่งหมาย คือ ให้การสนับสนุนด้านการบรรลุเป้าหมายของการบริหารงานในองค์การ เพื่อควบคุม จัดโครงสร้าง และวางแผนที่ได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
                3.1 แนวคิดและความหมาย
                Stair and Reynolds (2006, p.27) ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือ ดีเอสเอส เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง จุดมุ่งหมาย คือ การตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผล โดยเอ็มไอเอสจะให้การสนับสนุนองค์การทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกต้อง
                Turban et al (2006, p.465) ได้ให้นิยามไว้ว่า คือ ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมตัวแบบและข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ปัญหากึ่งโครงสร้างและปัญหาไม่มีโครงสร้าง ซึ่งมักครอบคลุมการตัดสินใจของผู้ใช้ และเป็นระบบที่แสดงถึงแนวโน้มหรือปรัชญามากกว่าหลักการที่ถูกต้องแม่นยำ
                เหตุผลของการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ มีดังนี้
1.             ผู้บริหารเกิดความต้องการสารสนเทศใหม่ ๆ ที่มีความถูกต้องแม่นยำ
2.             การดำเนินธุรกิจภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่มีเสถียรภาพ ด้วยเหตุนี้ ระบบสารสนเทศที่มีเดิม มักไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนเป้าหมายของธุรกิจ
3.             หน่วยงานระบบสารสนเทศ ไม่ค่อยรับรู้ถึงความต้องการที่หลากหลายของบริษัท ยังขาดฟังก์ชันด้านการวิเคราะห์ธุรกิจ ซึ่งจำเป็นต่อการบริหารและตัดสินใจ
4.             เกิดความเคลื่อนไหวของคอมพิวเตอร์ด้านผู้ใช้ขั้นปลาย
                3.2 สมรรถภาพของระบบ
                Turban et al (2006, p. 466) ได้ระบุถึงสมรรถภาพโดยรวมของระบบ ดังนี้
                1. สามารถใช้ดีเอสเอสได้ในทุกระดับชั้นของผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ตาม มักใช้กับปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
                2. สามารถใช้ดีเอสเอสได้ ทั้งในส่วนการตัดสินใจเชิงสัมพันธ์และเชิงลำดับ
                3. สามารถใช้ดีเอสเอสได้ทุก ๆ ระยะของกระบวนการตัดสินใจ
                4. ผู้ใช้สามารถปรับระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานภายใต้เวลาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
                5. ระบบที่ใช้มักง่ายต่อการสร้าง และสามารถใช้ได้หลายกรณี
                6. ระบบที่ใช้จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ และการกลั่นกรองระบบประยุกต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
                7. ระบบที่ใช้ประกอบด้วยตัวแบบเชิงปริมาณที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูล
                8. ระบบดีเอสเอสชั้นสูง มักถูกใช้เครื่องมือภายใต้การจัดการความรู้
                9. ระบบอาจถูกแพร่กระจายการใช้งานผ่านเว็บ
                10. ระบบอาจถูกใช้สนับสนุนการปฏิบัติ ด้านการวิเคราะห์ความไว
                3.3 ลักษณะเฉพาะของระบบ
                                3.3.1 การวิเคราะห์ความไว คือ การศึกษาผลกระทบของการใช้ตัวแบบในส่วนต่าง ๆ ของระบบ ที่สามารถตรวจสอบผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรนำเข้าที่มีต่อตัวแปรซึ่งเป็นผลลัพธ์ของการตัดสินใจ (Turban et al., 2006, p.466)
                                3.3.2 การค้นหาเป้าหมาย คือ กระบวนการกำหนดข้อมูลที่เป็นปัญหาซึ่งต้องการคำตอบของการแก้ปัญหานั้น (Stair & Reynolds, 2006,p.481)
                                3.3.3 การจำลอง โดยทำการสำเนาลักษณะเฉพาะของระบบจริง เช่น จำนวนครั้งของการซ่อมแซมส่วนประกอบของกุญแจ จะต้องคำนวณเพื่อกำหนดผลกระทบต่อจำนวนผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถผลิตได้ในแต่ละวัน
                3.4 โครงสร้างและส่วนประกอบของระบบ
                Turban et al. (2006, p.466) ได้ระบุไว้ว่า ส่วนประกอบของดีเอสเอส ควรประกอบไปด้วย
                                3.4.1 ระบบจัดการข้อมูล ข้อมูลที่ไหลเวียนจากหลาย ๆ แหล่ง และถูกนำมาสกัดเป็นข้อมูลเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูลของดีเอสเอส หรือโกดังข้องมูล
                                3.4.2 ระบบจัดการตัวแบบ โดยมักใช้ตัวแบบเชิงปริมาณสำหรับซอฟต์แวร์มาตรฐานด้านการเงิน สถิติ และวิทยาการจัดการ
                                3.4.3 ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ ครอบคลุมถึงการสื่อสาระหว่างผู้ใช้ระบบในบางระบบที่ถูกพัฒนาอย่างชำนาญการ เช่น ความง่ายของการโต้ตอบกับระบบจะช่วยสนับสนุนให้ผู้จัดการและพนักขายเต็มใจใช้ระบบ
                                3.4.4 ผู้ใช้ขั้นปลาย คือ บุคคลผู้ซึ่งเผชิญหน้ากับปัญหาหรือการตัดสินใจ คือ ผู้จัดการหรือผู้ตัดสินใจนั่นเอง
                                3.4.5 ระบบจัดการความรู้ ใช้สำหรับการแก้ปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ซึ่งต้องการความรู้ความชำนาญมาช่วยหาคำตอบของปัญหาเหล่านั้น
                3.5 กระบวนการทำงาน ส่วนประกอบของดีเอสเอส คือ ซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ทำงานบนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์มาตรฐาน เช่น มัลติมีเดีย โดยอาจใช้เครื่องมือ เช่น แผ่นตารางทำการ
                4. ระบบสนับสนุนผู้บริหาร
                Stair and Reynolds (2006, p.491) ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสนับสนุนผู้บริหาร หรืออีเอสเอส  ในบางครั้งเรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง หรืออีไอเอส คือ ระบบซึ่งประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล กระบวนคำสั่ง และบุคลากร ที่ใช้สนับสนุนด้านการตัดสินใจของผู้บริหารระดับอาวุโส
                4.1 วิสัยทัศน์ อีเอสเอส คือ รูปแบบพิเศษของระบบที่ใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาด้านต่าง ๆ
                4.2 คุณลักษณะ
                                1. เป็นระบบเชิงโต้ตอบที่ถูกสั่งทำโดยผู้บริหารรายบุคคล
                                2. เป็นระบบที่ไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน
                                3. เป็นระบบที่มีความสามารถเจาะลึกในรายละเอียดของแหล่งข้อมูล
                                4. เป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการข้อมูลภายนอกองค์การ
                                5. เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน
                                6. เป็นระบบที่ใช้กำหนดทิศทางในอนาคตขององค์การ
                                7. เป็นระบบที่ถูกเชื่อมโยงด้วยมูลค่าเพิ่มของกระบวนการทางธุรกิจ
                4.3 สมรรถภาพของระบบ
                                4.3.1 การสนับสนุนด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ เป็นงานหลักที่สำคัญของผู้บริหารระดับสูง
                                4.3.2 การสนับสนุนด้านการวางแผนกลยุทธ์ โดยใช้เครื่องมือกำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาว วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ
                                4.3.3 การสนับสนุนด้านการจัดการองค์การ และการจัดคนเข้าทำงาน ใช้วิเคราะห์ผลกระทบต่อการตัดสินใจด้านการจัดคนเข้าทำงาน การยกระดับการจ่ายเงินเดือน
                                4.3.4 การสนับสนุนด้านการควบคุมกลยุทธ์ เป็นเครื่องมือด้านการติดตามดูแลการดำเนินงานในภาพรวมขององค์การ การแสวงหาเป้าหมาย การจัดสรรทรัพยากร
                                4.3.5 การสนับสนุนด้านการจัดการเชิงวิกฤติ โดยองค์การอาจต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติต่าง ๆ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ การเกิดพายุ น้ำท่วม เป็นต้น
เทคโนโลยีทางการจัดการ
                1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม
                Turban et al. (2006, p.470) ได้ให้นิยามว่า คือ ระบบพื้นฐานของการใช้คอมพิวเตอร์เชิงโต้ตอบ ที่อำนวยความสะดวกด้านการค้นหาคำตอบของปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ถูกนำมาใช้โดยกลุ่มตัดสินใจที่มุ่งเน้นการสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจ
                Stair and Reynolds (2006, p.488) ได้ระบุคุณลักษณะสำคัญของจีดีเอสเอส ซึ่งจะนำมาลบล้างการปฏิบัติหน้าที่ของกลุ่มร่วมงานที่มักเกิดความขัดแย้งของกระบวนการกลุ่ม ดังนี้
                1. การไม่ระบุชื่อผู้นำเข้าข้อมูล
                2. การลดพฤติกรรมกลุ่มด้านการคัดค้าน
                3. การสื่อสารทางขนานตามวัฒนธรรมการประชุมแบบเดิม
                2.ห้องตัดสินใจ
                เป็นสถานการณ์ในอุดมคติ ซึ่งถูกติดตั้งในอาคารเดียวกันกับผู้ตัดสินใจหรือในพื้นที่ภูมิศาสตร์เดียวกัน และผู้ตัดสินใจ คือ ผู้ใช้เฉพาะกาลของจีดีเอสเอส โดยอีกทางเลือกหนึ่งของห้องตัดสินใจ คือ การรวมส่วนประกอบของระบบโต้ตอบด้วยวาจาแบบเผชิญหน้า ด้วยการรวมตัวของกลุ่มเทคโนโลยี
                3. ปัญญาประดิษฐ์
                หรือ เอไอ ซึ่งเป็นระบบลอกเลียนแบบคุณลักษณะอันชาญฉลาดของมนุษย์ Stair and Reynolds (2006, p.29) ได้ระบุไว้ว่า ปัญญาประดิษฐ์ จะประกอบด้วยสาขาย่อย เช่น วิทยาการหุ่นยนต์ ระบบภาพ การประมวลภาษาธรรมชาติ โครงข่ายประสาท ระบบการเรียนรู้ รวมทั้งระบบผู้เชี่ยวชาญ
                4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ
                คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถแนะนำและกระทำการ ดังเช่น ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขานั้น ๆ มูลค่าพิเศษของระบบผู้เชี่ยวชาญ คือ การให้เครื่องมือในการจับและใช้ความรอบรู้ของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษ รวมทั้งใช้ในด้านการติดตามงานระบบงานที่ซับซ้อน เพื่อการบรรลุด้านมูลค่าเพิ่มหรือรายได้ที่เหมาะสมซึ่งจะถูกบรรจุไว้ภายในฐานความรู้
                5. ความเป็นจริงเสมือน
                คือ การจำลองความจริงและสภาพแวดล้อมที่ถูกคาดการณ์ขึ้นด้วยแบบจำลอง 3 มิติ Stair and Reynolds (2006, p.31) ได้กล่าวถึง โลกเสมือน คือ การแสดงระดับเต็มที่สัมพันธ์กับขนาดของมนุษย์ โดยการติดตั้งรูปแบบ 3 มิติ สำหรับอุปกรณ์รับเข้าของความเป็นจริงเสมือนที่หลากหลาย เช่น จอภาพบนศีรษะ ถุงมือข้อมูล ก้านควบคุม และคทามือถือที่เป็นตัวนำทางผู้ใช้ผ่ายสิ่งแวดล้อมเสมือน
 
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549.