2554-06-27

แบบฝึกหัดบทที่1

แบบฝึกหัดบทที่ 1
1. จงเปรียบเทียบข้อแตกต่างของข้อมูลและสารสนเทศมาพอเข้าใจ
         ตอบ   ข้อมูลคือ เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นประจำวันในการดำเนินธุรกิจ เช่น การสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า เป็นต้น ข้อมูลอาจเป็นได้หลายชนิด เช่น ตัวเลข รูปภาพ รูปถ่าย หรือแม้กระทั่งเสียง
                      สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียงเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
2. การจัดแบ่งหน้าที่งานทางธุรกิจมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างองค์การอย่างไร
          ตอบ  การดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่จำดำเนินตามโครงสร้างองค์การของธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลากรในองค์การโดยมีการปฏิบัติตามกิจกรรมการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานที่มีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ เพื่อให้เข้าใจรูปแบบของการจำแนกความแตกต่างของภาระงาน อำนาจหน้าที่รวมทั้งการรายงานภาระรับผิดชอบการจัดแบ่งหน้าที่งานทางธุรกิจจึงมีความสัมพันธ์จึงก่อให้เกิดโครงสร้างองค์การ
3. การลงทุนเพื่อจัดตั้งธุรกิจใหม่จะต้องดำเนินตามขั้นตอนอย่างไร
         ตอบ  กิจกรรมที่ 1 การจัดหาวัตถุดิบสินค้าหรือทรัพยากรอื่นๆ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
                   กิจกรรมที่ 2 การใช้ทรัพยากรเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการนั้นๆ
                   กิจกรรมที่ 3 การขายตลอดจนการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการต่อลูกค้า
                สรุปได้ว่าธุรกิจจะต้องมีการจัดตั้งและนำเงินมาลงทุนหรืออาจกู้ยืมเงินมาใช้สำหรับการจัดหาทรัพยากรทางธุรกิจซึ่งไว้สำหรับกิจกรรมการดำเนินงานทั้ง 3 กิจกรรมข้างต้น
4. จงเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้ข้อมูลของระดับปฏิบัติการและระดับบริหาร
          ตอบ  ระดับปฏิบัติการ คือ การใช้ข้อมูลของธุรกิจภายใต้ระดับปฏิบัติการเปรียบเสมือนกระจกเงาที่คอยสอดส่องดูแลงานด้านต่างๆ เช่น การประมวลผลการบันทึกและการรายงานเหตุการณ์ทางธุรกิจ
                ระดับบริหาร คือ กระบวนการสารสนเทศจะเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านการจัดการตลอดจนการตัดสินใจทางธุรกิจโดยสามารถจำแนกวิธีการที่ผู้จัดการหรือผู้บริหารนิยมใช้ประโยชน์จากสารสนเทศทางธุรกิจดังนี้
                วิธีที่ 1 ให้ติดตามการปฏิบัติงานในปัจจุบัน
                วิธีที่ 2 ใช้สร้างความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท
5. ผู้บริหารของบริษัทได้รับทราบงบการเงินในช่วงเวลาที่ต้องการตัดสินใจแต่ข้อมูลในงบการเงินนั้นมีข้อผิดพลาดเล็กน้อยจะมีผลต่อมูลค่าของสารสเทศที่ผู้บริหารได้รับคือ
          ตอบ สารสนเทศจัดเป็นทรัพยากรที่สำคัญของธุรกิจแต่ถ้าหากข้อมูลงบการเงินนั้นมีข้อผิดพลาดไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็จะมีผลต่อมูลค่าของสารสนเทศคือ การวิเคราะห์ถึงสถานการณ์การช่วยลดความไม่แน่นอนในการตัดสินใจและส่งผลต่อการกำหนดนโยบายสินเชื่อในอนาคตทำให้เกิดมูลค่าของสารสนเทศที่จัดได้อยู่ในระดับต่ำยังมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของธุรกิจ
6. กรณีที่ผู้บริหารในระดับควบคุมปฏิบัติการได้รับสารสนเทศที่มีรายละเอียดไม่พอต่อการตัดสินใจอาจก่อให้เกิดผลกระทบคือ
          ตอบ ในระดับปฏิบัติการต้องดูแลงานด้านต่างๆเช่น การประมวลผล การบันทึกและการรายงานเหตุการณทางธรกิจและทำให้เกิดการลังเลใจในการตัดสินใจแล้วเกิดการล่าช้าในการตัดสินใจอาจก่อให้เกิดการเสียโอกาสและอาจทำให้เสียลูกค้า
7. การสั่งการของผู้บริหารระดับสูงในเรื่องนโยบายเงินปันผลต่อผู้บริหารระดับกลางให้ควบคุมการจ่ายเงินปันผลแก่พนักงานทุกคนคือเป็นสายงานด้านสารสนเทศในลักษณะใด
          ตอบ เป็นสายงานด้านสารสนเทศในแนวนอนซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มผู้ที่ส่วนได้เสีย
8. จงยกตัวอย่างโครงสร้างกระบวนการทางธุรกิจของบริษัทบริการโทรศัพท์มือถือ
          ตอบ  โครงสร้างกระบวนการธุรกิจมือถือมีรายละเอียดดังนี้
                1. กระบวนการปฏิบัติการ
                2. กระบวนการจัดการ
                3. กระบวนการสารสนเทศ
9. องค์การดิจิทัลมีความแตกต่างกับองค์การธุรกิจทั่วไปอย่างไร
         ตอบ องค์การดิจิทัลจะเป็นการทำงานที่หลากหลายมิติโดยอาศัยความสามารถของดิจิทัลซึ่งแตกต่างกับองค์การ
                  ธุรกิจทั่วไปคือ องค์การธุรกิจทั่วไปจะอาศัยเพียงแต่คนเข้ามาทำงานและทำงานได้ช้ากว่าองค์การดิจิทัลความถูกต้องแม่นยำก็มีน้อยกว่า
10. องค์การควนดำเนินการอย่างไรเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันทางธุรกิจ
        ตอบ  ต้องมีการกำหนดวิธีโต้ตอบหลัก 7 วิธี
                1. การจัดการเชิงกลยุทธ์
                2. จุดศูนย์รวมลูกค้า
                3. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
                4. การปรับกระบวนการทางดุลการค้า
                5. นวัตกรรมด้านการผลิต
                6. ธุรกิจอิเลกทรอนิคส์และอีคอมเมิร์ช
                7. พันธมิตรทางธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น