2554-06-27

                                                                                     ความรู้ด้านธุรกิจ
 
1. ธุรกิจ
Albright and Ingram ให้นิยามไว้ว่าธุรกิจ คือ องค์การหนึ่งซึ่งเสนอขายสินค้าหรือบริการต่อลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจนั้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรหรือกาทำรายได้ให้กับองค์การ
ฉวีวรรณ โสภาจารีย์ ได้จำแนกรูปแบบของธุรกิจดังนี้
รูปแบบที่ 1 เจ้าของคนเดียว คือองค์การขนาดเล็กที่มีบุคคลเพียงคนเดียวเป็นเจ้าของ การจัดตั้งธุรกิจทำได้ง่าย โดยเจ้าของกิจการเป็นผู้ดำเนินงานเองและรับผิดชอบในหนี้สินของร้านโดยไม่จำกัดจำนวน
รูปแบบที่ 2 ห้างหุ้นส่วน คือ กิจการค้าที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเข้าร่วมลงทุนโดยมุ่งหวังผลกำไร จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.             ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือจะร่วมกันรับผิดชอบหนี้สินของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวนเงิน จะมีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ได้
2.             ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือห้างหุ้นส่วนที่ประกอบด้วยผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภทคือ ประเภทที่รับผิดชอบในหนี้สินอย่างไม่จำกัดจำนวน และประเภทที่รับผิดชอบในหนี้สินโดยจำกัดแค่จำนวนเงินที่นำมาลงทุนเท่านั้น
รูปแบบที่ 3 บริษัทจำกัด คือ กิจการที่ตั้งขึ้นในรูปแบบของนิติบุคคลด้วยการแบ่งเงินลงทุนออกเป็นงวด ๆ มี 2 ประเภท คือ บริษัทเอกชนและบริษัทมหาชน
รูปแบบที่ 4 รัฐวิสาหกิจ หรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนจดทะเบียนของรัฐเกิน50%
2. ประเภทของธรกิจ
ประเภทที่ 1 หน่วยบริการเป็นหน่วยธุรกิจที่นิยมอย่างสูงในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมทางธุรกิจที่เรียบง่ายไม่มีความซับซ้อนและมีจุดมุ่งหมายที่จะบริการลูกค้าและคิดค่าธรรมเนียมบริการเป็นการตอบแทน
ประเภทที่ 2 หน่วยค้าสินค้า หรือธุรกิจพาณิชยกรรมจะมีกิจกรรมทางธุรกิจที่ซับซ้อนมากกว่าหน่วยบริการ เป้าหมายของธุรกิจคือการมุ่งเน้นที่จะซื้อสินค้าในราคาต่ำ และขายสินค้าในราคาสูงเพื่อนำส่วนต่างของราคาขายและราคาซื้อต่อหนึ่งหน่วยสินค้ามาเป็นผลกำไรจากการขายและดำเนินงาน เช่น ร้านขายคอมพิวเตอร์ ห้างสรรพสินค้า
ประเภทที่ 3 หน่วยผลิตสินค้า หรือธุรกิจอุตสาหกรรมถือเป็นหน่วยธุรกิจที่มีความซับซ้อนของกิจกรรมทางธุรกิจสูงสุด โดยเป้าหมายของธุรกิจประเภทนี้คือการมุ่งเน้นที่จะผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพในราคาต้นทุนที่ต่ำและขายสินค้าในราคาสูงเพื่อนำส่วนต่างของราคาขายและต้นทุนการผลิตต่อหนึ่งหน่วยสินค้ามาเป็นผลกำไรจากการผลิตและการขาย
3. การจัดตั้งและการดำเนินงานทางธุรกิจ
ในจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานทางธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆนั้นจะต้องนำเงินมาลงทุนร่วมกันเพื่อจัดตั้งหน่วยธุรกิจตามจุดประสงค์และรูปแบบการลงทุนของธุรกิจโดยอาจเรียกการจัดตั้งธุรกิจว่า การเสี่ยงลงทุนในส่วนกิจกรรมการดำเนินงาน คือการดำเนินงานต่าง ๆ ที่จำเป็นของธุรกิจเพื่อความอยู่รอดขององค์การ ดังนี้คือ
กิจกรรมที่ 1 การจัดหาวัตถุดิบ สินค้า หรือทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
กิจกรรมที่ 2 การใช้ทรัพยากรเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการนั้น ๆ
กิจกรรมที่ 3 การขายตลอดจนการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการจากลูกค้า
4. หน้าที่งานทางธุรกิจ
                หรือฟังก์ชันทางธุรกิจมักถูกใช้เพื่อแบ่งองค์การเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบภายใต้ภาระงาน การกำหนดพื้นที่ของแต่ละหน้าที่งานมักกำหนดตามการไหลของทรัพยากรจากหน้าที่หนึ่งเข้าสู่อีกหน้าที่หนึ่ง การจัดแบ่งหน้าที่งานจะแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ ขนาดของธุรกิจ และสายผลิตภัณฑ์
5.การจัดโครงสร้างองค์การ
                การดำเนินการทางธุรกิจส่วนใหญ่จะดำเนินตามโครงสร้างองค์การของธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์การ
ความรู้ด้านสารสนเทศ
1.ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้โดยมีรายละเอียดดังนี้
                1.1 ข้อมูล คือ คำพรรณนาถึงสิ่งของ เหตุการณ์ กิจกรรมและธุรกรรมซึ่งถูกบันทึก จำแนกและจัดเก็บไว้ภายในแหล่งจัดเก็บข้อมูล แต่ยังไม่มีการจัดโครงสร้างเพื่อถ่ายโอนไปยังสถานที่เฉพาะเจาะจง อาจจะอยู่ในรูปแบบตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพหรือเสียงก็ได้ และข้อมูลอาจถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบภายในฐานข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการค้นข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
                Hall (2004, p. 7) ได้จำแนกประเภทของธุรกิจออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 ธุรกรรมที่เป็นตัวเงิน คือ เหตุการณ์ทางเศรษฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าสินทรัพย์และส่วนของเจ้าของธุรกิจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นตัวเลขทางการบัญชีที่สามารถวัดมูลค่าเป็นตัวเงินได้
ส่วนที่ 2 ธุรกรรมที่ไม่เป็นตัวเงิน คือ เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบหรืออยู่ในความสนใจของธุรกิจ ข้อมูลส่วนนี้อยู่นอกเหนือจากนิยามของธุรกรรมที่เป็นตัวเงินและมักถูกนำมาประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลภายใต้กระบวนการสารสนเทศ
                1.2 สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ถูกจัดโครงสร้างให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและมีมูลค่าต่อผู้รับ โดยมีการนำข้อมูลผ่านกระบวนการประมวลผลและจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้ เช่นผลการเรียนเฉลี่ยของนักเรียน ในการแปลงสภาพข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศจำต้องอาศัยกระบวนการประมวลผลที่เฉาพะเจาะจงและมักจะอยู่ภายใต้กระบวนการทำงานของระบบประยุกต์ ในการปรับเปลี่ยนข้อมูลให้เข้าสู่รูปแบบของสารสนเทศอาจใช้กระบวนการดังนี้
1. การจัดกลุ่มข้อมูล คือ การจำแนกประเภทของข้อมูลออกเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน
2. การจัดเรียงข้อมูล คือ การจัดเรียงลำดับข้อมูลโดยใช้เกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง
3.การสรุปผลข้อมูล คือ การคำนวณและสรุปยอดข้อมูลที่ต้องการ
4. การออกรายงาน คือ การจัดพิมพ์รายงานตามรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการซึ่งข้อมูลอาจผ่านการจัดกลุ่ม เรียงลำดับและสรุปผลข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
                1.3 ความรู้ ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศซึ่งถูกจัดโครงสร้างและประมวลผลเพื่อถ่ายโอนความเข้าใจ ประสบการณ์และการเรียนรู้ รวมทั้งความเชี่ยวชาญที่เก็บสะสมไว้ภายในฐานความรู้ซึ่งใช้แก้ปัญหาที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ
คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี
2.1ความตรงกับกรณี
2.2 ความทันต่อเวลา
2.3 ความถูกต้อง
2.4 ความครบถ้วนสมบูรณ์
2.5 การสรุปสาระสำคัญ
2.6 การตรวจสอบได้
3. มูลค่าของสารสนเทศ
                สารสนเทศมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของธุรกิจและก่อให้เกิดมูลค่าของสารสนเทศโดยเฉพาะในกรณี ดังนี้
                กรณีที่ 1 การช่วยชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากฝ่ายบริหาร
                กรณีที่ 2 การช่วยลดความไม่แน่นอนโดยมีการนำเสนอสารสนเทศบนข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งช่วยลดความไม่แน่นอนจากการตัดสินใจ ทำให้ผู้บริหารตัดสินใจเลือกทางเลือกต่าง ๆ อย่างถูกต้องแม่นยำขึ้น
                กรณีที่ 3 การให้ผลป้อนกลับ โดยการนำสารสนเทศที่ได้รับมาใช้ปรับปรุงการตัดสินใจในครั้งต่อไปและยังจัดเก็บสารสนเทศที่เป็นผลมาจากการตัดสินใจครั้งก่อนไว้เพื่อเป็นผลป้อนกลับ
4. ข้อจำกัดของการใช้สารสนเทศสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประการ คือ
ประการที่ 1 การเกิดภาวะของสารสนเทศที่มากเกินความจำเป็น
ประการที่ 2 มาตรการวัดผลการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสม
เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ความหมายและส่วนประกอบ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้นิยามไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฎิบัติและอุตสาหกรรม
Turban et (2006 , p. 21) ได้ให้นิยามไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ชุดของระบบคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ภายในองค์การหรืออีกนัยหนึ่ง คือเทคโนโลยีพื้นฐานของระบบสารสนเทศที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่ายและโทรคมนาคม รวมทั้งอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์อื่น ๆ โดยถูกนำมาใช้เพื่อจุดประสงค์ด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ สามารถกำหนดโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์(Hardware) คือชุดของอุปกรณ์เช่น จอมอนิเตอร์ (Monitor) หน่วยประมวลผล (Processor)แผงแป้นอักขระ (Keybord) และเครื่องพิมพ์ (Printer) ที่ถูกนำมาใช้ร่วมกันเพื่อการรับเข้าข้อมูลและสารสนเทศ การประมวลผล และการส่งผลลัพธ์ออกทางจอมอนิเตอร์หรือเครื่องพิมพ์
2. ซอฟแวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งสำหรับการประมวลผลของฮาร์ดแวร์
3. ฐานข้อมูล (Databass) คือ ชุดของแฟ้มข้อมูลและตารางความสัมพันธ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลซึ่งมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน
4. เครือข่ายและโทรคมนาคม (Network & Telecommunication) คือ ชุดของอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบที่มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน
5. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Devices) คือ อุปกรณ์วงจรไฟฟ้าบนเครือข่ายทั้งในรูปแบบใช้สายและไร้สายถูกนำมาใช้ร่วมส่วนประกอบข้างต้นเพื่อแลกเปลี่ยนระบบข้อมูลสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล
2. บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
                คาร์(Car , 2549) ได้วิเคราะห์ถึงบทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งสรุปได้เป็น 3ระยะดังนี้
ระยะที่1 องค์การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับจัดการงานประจำวันที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ทุกวันทำการเพื่อสร้างระบบอัตโนมัติงานต่างๆ เช่น ระบบอัตโนมัติด้านการผลิตและการบัญชี เป็นต้น
ระยะที่ 2 องค์การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในฐานะของเทคโนโลยีที่มีกรรมสิทธิ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน โดยมีการลงทุนในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศจำนวนมากและพยายามรักษาความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีไว้
ระยะที่ 3 องค์การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในฐานะเทคโนโลยีที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานมีการใช้งานร่วมกันระหว่างองค์การบนพื้นฐานของระบบเครือข่าย
                จากการเปลี่ยนบทบาทด้านการใช้เทคโนยีสารสนเทศทางธุรกิจทั้ง 3 ระยะ สามารถวิเคราะห์ถึงนี้
ผลประโยชน์ที่องค์การควรจะได้รับจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดังนี้
1. เป็นการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้โดยบุคลากรสามารถเรียนรู้การใช้ชุดคำสั่งของระบบประยุกต์ เพื่อการปฏิบัติงานที่เกิดผลประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
2. เป็นการสร้างความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน การจัดการ และการตัดสินใจ ตลอดจนมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
3. เป็นการสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
4. เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับองค์การทั้งในทางตรงและในทางอ้อม
5. เป็นการค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานและลดการใช้ทรัพยากรที่ซ้ำซ้อนลง
6. เป็นการเพิ่มคุณภาพของสินค้าหรือบริการเพื่อให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้
7. เป็นการสร้างความแตกต่างให้กับองค์การ สำหรับองค์การที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและองค์การที่ไม่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสายตาของผู้บริโภค



การใช้สารสนเทศในองค์การธุรกิจ
1. กระบวนการทางธุรกิจ จำเป็นต้องมีการดำเนินงานตามกระบวนการทางธุรกิจถือเป็นระบบการทำงานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อให้หน่วยธุรกิจมีการปฏิบัติงานตามรูปแบบมาตรฐาน ทั้งมีการประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                Laudon and Laudon (2005, p.7) ให้นิยามไว้ว่า กระบวนการทางธุรกิจคือ วิธีการทำงานที่มีลักษณะเฉพาะของการจัดระบบงานและการประสานงานทางธุรกิจ โดยมุ่งเน้นการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสำหรับการส่งมอบให้ลูกค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การทำคำสั่งซื้อของลูกค้าให้บรรลุผลตลอดจนการว่าจ้างแรงงาน ทั้งหมดถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธุรกิจ หากองค์การประสบความสำเร็จด้านการจัดกระบวนการธุรกิจที่ดีแล้วถือเป็นจุดแข็งขององค์การในการแข่งขันกับธุรกิจอื่นภายใต้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเดียวกัน
                Gelinas, Sutton , and Fedorowcz (2004 , p. 12) ระบุว่ากระบวนการทางธุรกิจ คือ การรวมตัวของ 3 ส่วนประกอบคือ กระบวนการปฏิบัติการ กระบวนการจัดการ และกระบวนการสารสนเทศ มีรายละเอียดดังนี้
                1.1 กระบวนการปฏิบัติการ คือ ระบบการทำงานประกอบด้วย บุคคล อุปกรณ์ องค์การนโยบาย และกระบวนการงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อการทำงานขององค์การให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี มีการปฏิบัติงานด้านต่างๆ เช่น การผลิต
                1.2 กระบวนการจัดการ คือ ระบบการทำงานซึ่งประกอบด้วย บุคคล อำนาจหน้าที่ องค์การนโยบาย และกระบวนการงาน มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อการวางแผนและควบคุมการปฏิบัติงานภายในองค์การ
                1.3 กระบวนการสารสนเทศ หรือกระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ คือ ระบบที่ประกอบด้วยการรวมตัวกันของชุดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และส่วนประกอบที่สร้างขึ้นด้วยมือ เพื่อรวบรวมจัดเก็บ และจัดการข้อมูล รวมทั้งการนำเสนอสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ให้แก่ผู้ใช้สารสนเทศ
2. แนวทางการใช้สารสนเทศทางธุรกิจ
                2.1 ระดับปฏิบัติการ เปรียบเสมือนกระจกเงาที่คอยสอดส่องดูแลงานด้านต่าง ๆ
                2.2 ระดับบริหาร จะเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านการจัดการ ตลอดจนการตัดสินใจด้านทางธุรกิจที่ผู้จัดการหรือผู้บริหารนิยมใช้ประโยชน์จากสารสนเทศทางธุรกิจ ดังนี้
                วิธีที่ 1 ใช้ติดตามการปฏิบัติงานในปัจจุบัน
                วิธที่ 2 ใช้สร้างความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท
3. สายงานด้านสารสนเทศ
                3.1 สายงานด้านสารสนเทศในแนวดิ่ง คือสายงานที่เกิดจากระดับชั้นของการบริหารงานในองค์การจำแนกได้ 2 ประเภทคือ
                3.1.1 การรายงานผลการปฏิบัติงาน ในทุกวันทำการถือเป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานจะทำการรายงสนผลการปฏิบัติงานต่อผู้จัดการหรือผู้บริหารระดับสูง จึงเกิดการไหลขึ้นของสายงานด้านสารสนเทศ
                3.1.2 การงบประมาณและการสั่งการ ถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงที่จะทำการด้านการวางแผนด้านงบประมาณและออกคำสั่งการปฏิบัติการในเรื่องต่างๆ รวมทั้งการนำส่งสารสนเทศต่อผู้จัดการหรือผู้ปฏิบัติการในทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
                3.2 สายงานด้านสารสนเทศในแนวนอน คือ สายงานที่เกิดขึ้นจากการกระจายสารสนเทศไปยังส่วนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จำแนกได้ 2 ประเภทคือ
                3.2.1 การกระจายสารสนเทศภายในองค์การ จะมีการนำส่งสารสนเทศภายใต้ระดับปฏิบัติการ จากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งที่อยู่ภายในองค์การเดียวกัน
                3.2.2 การกระจายสารสนเทศไปยังองค์การภายนอก เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศกับองค์การภายนอก 2 กลุ่มดังนี้
                                กลุ่มที่ 1 หุ้นส่วนธุรกิจ คือ ลูกค้า ผู้จัดหา และผู้ให้บริการต่างๆ
                                กลุ่มที่ 2 ผู้มีส่วนได้เสีย คือ บุคคลภายนอกองค์การที่มุ่งความสนใจในตัวองค์การ


สารสนเทศทางธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์
                Turban et al.  (2006, p.3) ได้ยกกรณีตัวอย่างบริษัท ซีเมนส์ เอซี จำกัด ซึ่งก่อตั้งขึ้นในช่วงเศรษฐกิจยุคเก่าได้เล็งเห็นถึงความต้องการในการปรับปรุงรูปแบบการดำเนินธุรกิจเพื่อเข้าสู่ธุรกิจอิเล็กทรอนิคส์ และพยายามใช้ระบบอิเล็กทรอนิคส์ในทุกๆ หน้าที่งานทางธุรกิจ เพื่อขยายขีดความสามารถด้านการดำเนินงานและการแข่งขันเชิงธุรกิจ โดยมีการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศบนเว็บด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ หรืออีคอมเมิร์ช เพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการซื้อ การขาย ตลอดจนการบริการลูกค้า โดยทำธุรกรรมในระบบอิเล็กทรอนิคส์ผ่านทางอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งในส่วนนี้จะกล่าวถึง 5 หัวข้อย่อยคือ
1.  ระบบเศรษฐกิจ    มักจะเรียกอีกอย่างว่าเศรษฐกิจยุคดิจิทัลซึ่ง Turban et al.  (2006, p.4) ให้คำจำกัดไว้ว่า เศรษฐกิจยุคดิจิทัลหมายถึง เศรษฐกิจหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือในอีกความหมายหนึ่งของเศรษฐกิจยุคดิจิทัล คือ ภาวะที่บรรจบเข้าหากันระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตตลอดจนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบอื่น ส่งผลให้เกิดสายงานด้านสารสนเทศและนวัตกรรมด้านอีคอมเมิร์ช รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
                ในบางครั้งนิยมเรียกเศรษฐกิจยุคดิจิทัลว่า เศรษฐกิจยุคใหม่ เศรษฐกิจยุคอินเตอร์เน็ต หรือเศรษฐกิจยุคเว็บ โดยมีการนำเสนอสารสนเทศบนแพลตฟอร์มทั่วโลกซึ่งบุคลากรและองค์การได้คิดค้นกลยุทธ์ทั้งด้านการโต้ตอบ การสื่อสาร การร่วมมือและการสืบค้นสารสนเทศ
2. การจัดองค์การ   จะปรากฏการณ์รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า องค์การดิจิทัล ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าองค์การดิจิทัล คือองค์การที่มีการทำงานในหลากหลายมิติโดยอาศัยความสามารถด้านดิจิทัลและสื่อดิจิทัล จัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจ โดยเฉพาะส่วนที่ติดต่อกับลูกค้ามักมีการรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้รวดเร็วกว่าองค์การรูปแบบอื่นตลอดจนความสามารถด้านการปรับตัวให้มีความอยู่รอดทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี
3. แบบจำลอง   คือ วิธีการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลให้บริษัทสามารถสร้างรายได้เพื่อค้ำจุนองค์การให้อยู่รอด
4. เครือข่ายคอมพิวเตอร์   ถือเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศ คือโครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ช อยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์แบบกระจายโดยมีการเชื่อมต่อของระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์อื่น
5. โอกาสของผู้ประกอบการ    Turban et al.  (2006, p.17) ได้กำหนดวิธีโต้ตอบหลักขององค์การไว้ 7 วิธี คือ
5.1 การจัดการเชิงกลยุทธ์   ถือเป็นกิจกรรมด้านการตอบโต้ที่สำคัญโดยทำการพัฒนากลยุทธ์ของบริษัทเพื่อจัดการกับแรงกดดันทางธุรกิจทั้งหลาย รวมถึงการใช้ความสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2 จุดศูนย์รวมลูกค้า   เป็นวิธีการหนึ่งที่องค์การพยามที่จะบริการลูกค้าอย่างดีเยี่ยมด้วยการสร้างข้อแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ในส่วนความดึงดูดใจ อีกทั้งการธำรงรักษาลูกค้าด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นกลไกที่ทันสมัยสำหรับการทำให้ลูกค้ามีความสุข
5.3 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหลายๆบริษัทได้ดำเนินการตามโปรแกรมเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ด้วยการใช้เทคโนโลยีสนับสนุน
5.4 การปรับกระบวนการทางธุรกิจองค์การอาจพบว่าความพยายามด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิผลที่จำกัด ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีแรงกดดันทางธุรกิจสูง ดังนั้นจึงมักเกิดความต้องการแนวโน้มใหม่ด้านการรื้อปรับกระบวนการทางธุรกิจ
Turban et al.  (2005, p.23)  กล่าวถึงการปรับกระบวนการทางธุรกิจของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง โดยการนำวิธีการทางดิจิทัลมาใช้สร้างรูปแบบของกระแสงานอิเล็กทรอนิคส์ของระบบการประมวลภาพ ซึ่งทดแทนการทำงานด้วยมือของระบบการจัดเก็บเอกสารที่เป็นกระดาษ ช่วยลดเวลาของการดำเนินการจาก 33วันทำการเหลือ 5    วันทำการเท่านั้นนอกจากนี้ยังส่งผลการลดต้นทุนดำเนินการและการปรับปรุงบริการลูกค้าให้ดีขึ้นด้วย
5.5 นวัตกรรมด้านการผลิตตามคำสั่งและการผลิตแบบสั่งทำในปริมาณมาก คือ แนวโมนวัตกรรมด้านการผลิตสินค้ารวมทั้งบริการแบบสั่งทำโดยมีข้อกำหนดเฉพาะที่ได้จากลูกค้าและใช้กลยุทธ์การผลิตตามคำสั่ง ในขณะที่ลูกค้ามีความต้องการสินค้าหรือบริการ
5.6 ธุรกิจอิเล็กทรอนิคส์และอีคอมเมิร์ช
                Drucker (as quoted in Turban et al., 2006, p. 19) กล่าวถึงอีคอมเมิร์ชไว้ว่าถือเป็นการปฏิวัติที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างแท้จริงของอินเตอร์เน็ตเพิ่งอยู่ในระยะเริ่มต้นที่น่าจับตามองต่อไปซึ่งนอกจากจะส่งผลให้องค์การได้รับสารสนเทศที่ดีแล้ว อาจส่งผลต่อการประมวลผลข้อมูลเพื่อการตัดสินใจรวมทั้งในการกำหนดนโยบายหรือกลยุทธ์ขององค์การ
5.7 พันธมิตรทางธุรกิจ
1.               Turban et al.  (2006, p.19) ได้ให้ตัวอย่างของพันธมิตรทางธุรกิจ คือ บริษัทเจเนอรัลมอเตอร์จำกัด และบริษัท ฟอร์ด จำกัด  ได้ร่วมกันสร้างรูปแบบการค้าเพื่อที่จะสำรวจระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ช ซึ่งรูปแบบของพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นไปได้ในลักษณะของการแบ่งปันทรัพยากร การปฏิบัติการจัดหาโดยร่วมมือกัน การสร้างความพยายามด้านการวิจัยร่วมกัน รวมทั้งการสร้างสัมพันธภาพอย่างถาวรระหว่างบริษัทและผู้ขายโดยที่รูปแบบต่างๆ เหล่านี้จะอยู่ภายใต้แรงกดดันทางธุรกิจ ทั้งยังสามารถให้การสนับสนุนได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ



เอกสารอ้างอิง
รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงค์ . สารสนเทศทางธุรกิจ.บริษัท วี พริ้น 1991 จำกัด.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น