2554-09-21

บทความระบบสารสนเทศทางการผลิต

ระบบสารสนเทศทางการผลิต 

      ระบบสารสนเทศทางการผลิต (Production Information System) คือ การนําระบบคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อช่วยในการทํากิจกรรมต่างๆทางการผลิต แล้วสร้างเป็นฐานข้อมูลเพื่อความสะดวกในการเก็บรักษา มีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจในขอบเขตต่างๆ เกี่ยวกับการผลิต
คอมพิวเตอร์กับการผลิต การผลิตเป็นหน้าที่หนึ่งในองค์กร ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตสินค้าจากวัตถุดิบ สินค้าที่ผลิตจะต้องได้คุณภาพ ทันต่อเวลาที่ต้องการใช้ และจะต้องก่อให้เกิดการสูญเสียที่น้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามักนิยมนําการควบคุมคุณภาพรวม (TQM) มาใช้ในการจัดการการผลิต ในยุโรปก็จะมีการกําหนดมาตรฐานในการผลิต โดยใช้มาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 มาใช้ในการควบคุมการผลิต แต่ในประเทศญี่ปุ่นมักจะใช้ระบบ Just-in-Time และ KaiZen มาช่วยในการควบคุมการผลิตให้ทันเวลา และมีการปรับปรุงคุณภาพตลอดเวลา เป็นต้น ผบริหารในโรงงานจําเป็นจะต้องรู้เกี่ยวกับการไหลของข้อมูลการผลิต การตัดสินใจในกระบวนการผลิตโดยส่วนใหญ่ จึงมักจะมีการนําคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการผลิต เช่น 1. การออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่วนมากโรงงานอุตสาหกรรมจะนําคอมพิวเตอร์มาใช้ในการช่วยออกแบบ เช่น โปรแกรมประเภท CAD, CAE และ Aotocad 2. การออกแบบสิ่งอํานวยความสะดวก ภายหลังจากออกแบบผลิตภัณฑ์แล้ว ผู้บริหารอาจมีแผนสร้างสิ่งอํานวยความสะดวกในการผลิต เช่น การเปลี่ยนตําแหน่งในการทํางาน หรือการออกแบบผังการทํางานใหม่โดยใช้แบบจําลองของ Monte Carlo มาช่วยในการออกแบบ 3. การผลิต การนําคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในเรื่องการผลิตสินค้า การตัดสินใจในเรื่องการผลิตสินค้า
ควบคุมการผลิตได้อย่างถูกต้องด้วย MRP II ในปัจจุบันได้มีการนําระบบสารสนเทศมาใช้ในการควบคุมการผลิตมาก โดยเฉพาะโปรแกรม MRP II นับเป็นโปรแกรมยอดฮิตที่เข้ามามีบทบาทในเรื่องการควบคุมการผลิตมากโดยเริ่มจากบริษัทจะต้องมีการพยากรณ์การขาย และพิจารณาถึงความสามารถในการผลิตของเครื่องจักร เพื่อช่วยในการจัดตารางการผลิตให้กับเครื่องจักร ในขณะเดียวกันจะได้เตรียม เกี่ยวกับวัตถุดิบที่จําเป็นต้องใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งแหล่งของวัตถุดิบจะต้องมีการตรวจสอบจากสินค้าคงคลังที่คงเหลือ จํานวนวัตถุดิบที่ต้องการใช้ การสั่งซื้อจากผู้ขายวัตถุดิบ และความสามารถในการเก็บวัตถุดิบของโกดัง เพื่อประกอบในการตัดสินใจเกี่ยวกับวัตถุดิบ นอกจากนั้น ยังมีการแสดงผลลัพธ์ที่แท้จริงจากการผลิต และทําเป็นรายงานแจ้งผู้บริหารอีกด้วย ระบบสารสนเทศทางการผลิตมีโปรแกรมให้เลือกใช้มากมาย การจะตัดสินใจว่าควรเลือกใช้โปรแกรมใด ควรพิจารณาถึงลักษณะการผลิตของโรงงานเป็นหลัก เช่น การใช้ MRP II นั้น อาจจะใช้ได้กับลักษณะการผลิตในระบบผลัก (Push System) ซึ่งมีการผลิตในแต่ละครั้งเป็น(Pull System) เช่น ระบบการผลิตแบบ Just-in-Time ของประเทศญี่ปุ่น จึงต้องมีการเลือกใช้โปรแกรมการควบคุมการผลิตที่ เหมาะสมกับการผลิต
รูปแบบการผลิตที่ต่างกันย่อมมีระบบสารสนเทศที่ต่างกัน เพื่อประโยชน์อันสูงสุดจากการนําระบบสารสนเทศมาใช้กับการผลิต เราควรแยกแยะ วิธีการผลิตของแต่ละโรงงานให้ชัดเจนเสียก่อน ซึ่งวิธีการผลิตหลักๆ มีดังนี้
1. Job-shop production วิธีการผลิตจะผลิตครั้งละน้อยๆตามใบสั่งซื้อของลูกค้า หรือบางครั้งเรียกว่า Process-focused system
2. Flow-shop production วิธีการผลิตจะเป็นการผลิตสินค้าที่มีรูปแบบไม่มาก หรือไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการผลิตครั้งละมากๆและมีการผลิตแบบต่อเนื่อง หรือบางครั้ง เรียกว่า Product-focused system
3. Batch production วิธีนี้จะมีรูปแบบการผลิตที่แน่นอน มีการกําหนดว่าการผลิต แต่ละครั้งได้กี่ชิ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น